Friday, May 31, 2024

โครงการคนละลูก ลุยเมืองตรัง มอบลูกฟุตบอลมิกาซ่า พร้อมเปิดคลีนิคฟุตบอล ให้เยาวชนที่โรงเรียนบ้านเขาพรูเสม็ด จังหวัดตรัง

.     วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 นายนิติพงศ์ ชูเศษ  สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง(คนที่ 5 ซ้ายมือ)เป็นประธานพิธีเปิด  ใน โครงการผู้นำเยาวชนกีฬา ร่วมทำความดี พี่ให้น้อง ปีที่ 6 ประจำปี 2567 มอบลูกฟุตบอลมิกาซ่าพร้อมเปิดคลีนิคฟุตบอล ให้กับนายนรินทร์ วัฒนบัญชา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเขาพรูเสม็ด จังหวัดตรัง โรงเรียนขาดแคลนอุปกรณ์กีฬา 
วิโรจน์ นิตย์ใหม่ หัวหน้าสำนักงานโครงการคนละลูกจังหวัดตรัง กล่าวรายงานที่โรงเรียนบ้านเขาพรูเสม็ด
ศุภชัย ตัณฑสมบูรณ์ ประธานโครงการคนละลูก กล่าว เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนมาสนใจการเล่นกีฬา ห่างไกลยาเสพติด ทางโครงการจึงจัดหาลูกฟุตบอล  ให้โรงเรียนในจังหวัดต่างๆ อาทิเช่น จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดนครพนม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสระแก้วเป็นต้น
นายนรินทร์ วัฒนบัญชา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเขาพรูเสม็ด กล่าว ทางโรงเรียนมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ทางโครงการคนละลูก ได้มาจัดกิจกรรมที่โรงเรียน เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนหันมาสนใจการเล่นฟุตบอลมากยิ่งขึ้น และโรงเรียนได้เตรียมสนามฟุตบอล ให้พร้อมสำหรับคลีนิคฟุตบอลเรียบร้อยแล้ว

ทางโครงการคนละลูก ต้องขอขอบ คุณผู้ใหญ่ใจดี ที่ให้การสนับสนุนโครงการนี้  บริษัท มิกาซ่า อินดัสตรี้ส์(ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท กีล่า สปอร์ต จำกัด บริษัท 8 ดีไซค์ จำกัด  และสำนักสื่อมวลชน ที่สนับสนุนข่าวเป็นอย่างดีเช่นเคย

ตชด.14สนธิกำลัง ปส.สอบสวนกลาง ดักรวบ2ผู้ต้องหาลักลอบขนยาไอร์หนัก605กิโล กลางท่าเรือ

วันที่31พ.ค. 67  พ.ต.อ.อัคราวัส  สีห์ธนบุญอุบล  ผกก.กองกำกับการตำรวจตระเวนชายเเดนที่ 14   ร.ต.ต.สุวัชชัย  สดใส หัวหน้า ชปส.ร้อย ตชด.144  จ.ส.ต.พรพีพัฒษ์ บัวจำรัส จนท.ชปส.ร้อย ตชด.144, ส.ต.ท.ภาณุเดช สังสนั่น  ผบ.หมู่กก.ตชด.14,  ส.ต.ท.จตุพร สิงหาปัด ผบ.หมู่ กก.ตชด.14,  ส.ต.ท.อดิศร ปิ่นแก้ว จนท.ชปส.ร้อย ตชด.144 พร้อมด้วย ตำรวจสอบสวนกลาง    ได้ร่วมกันจับกุมตัว นายประยงค์ พิกุลทอง อายุ40ปี ที่อยู่129/17 หมู่ที่5 ต.ปากน้ำ อ.เมืองระนอง จ.ระนอง  พร้อมด้วย นายรณชัย ครุฑวุวรรณ อายุ34 ปี ที่อยู่ 13/2 หมู่ที่4 ต.ปากแพรก อ.เมืองกาญจนบุรี  พร้อมตรวจยึดของกลาง เป็นยาไอซ์บรรจุอยู่ในถุงชาสีทอง ยี่ห้อGUANYINWANG นำหนัก605กิโลกรัม  รถตู้ ยี่ห้อโตโยต้า สีเทา ป้ายทะเบียน ฮว- 3980 กรุงเทพ  ที่ใช้ก่อเหตุ จำนวน1คัน  ได้ที่บริเวณท่าเทียบเรือ ถ.วัดบางหญ้าแพรก-อันนาลัย ต.บางหญ้าแพรก อ.เมืองสมุทรสาคร 
โดยเจ้าหน้าที่ได้รับการประสานงานจาก  กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางว่าจะมีการลักลอบลำเลียงขนยาเสพติดล็อตใหญ่ บริเวณท่าเรือท่าฉลอม จ.สมุทรสาคร โดยใช้รถตู้ลำเลียงมาส่งลงเรือ  พ.ต.อ.อัคราวัส สีห์ธนบุญอุบล ผกก.ตชด14 พร้อมด้วยชุดเจ้าหน้าที่ชปส.ร้อย ตชด.144 ได้เข้าร่วมดักซุ้ม จนรถตู้คันดังกล่าวขับเข้ามาที่ท่าเรือจึงแสดงตัวเข้าขอตรวจค้นจนพบยาเสพติดล็อตใหญ่ได้ดังกล่าว   
เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายสั่งการของ  พล.ต.ท.ยงเกียรติ  มนปราณีต  ผบช.ตชด,   พล.ต.ต.บรรพต มุ่งขอบกลาง รองผบช.ตชด, พล.ต.ต.จักร เพชร เพชรพลอยนิล  ผบก.ตชด. ภาค1อำนวยการสั่งการ  ให้ กก.ตชด 14  ในการปราบปรามยาเสพติดให้หมดไป     เบื้องต้นแจ้งข้อหา นายรณชัย และนายประยงค์ "ร่วมกันจําหน่ายโดยมีไว้เพื่อจําหน่ายยาเสพติดให้โทษประเภท1ยาไอซ์ อันเป็นการกระทําเพื่อการค้าก่อให้เกิดการแพร่กระจายในกลุ่มประชาชน และทําให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรั ฐหรือความปลอดภัยของประชาชนทั่วไป"  ก่อนนำตัวผู้ต้องหา ส่งพนักงานสอบสวน สภ.เมืองสมุทรสาคร ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
//////////////// บรรณรต  เพชรบุรี

อธิบดีกรมพัฒน์ ลงพื้นที่อ่างทอง มอบเครื่องมือให้แรงงานอิสระ เป้าหมาย 22,000 คน ทั่วประเทศ

กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มอบชุดเครื่องมือพื้นฐานเพื่อการประกอบอาชีพให้ผู้สำเร็จการฝึกอบรมจังหวัดอ่างทอง ส่งเสริมการมีงาน มีรายได้ มีสุขในชุมชน
นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการประกอบอาชีพให้แก่แรงงานอิสระ และผู้มีรายได้น้อยทั่วประเทศให้มีงานทำ มีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง ได้มอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ดำเนินการพัฒนาทักษะเฉพาะให้แก่แรงงานอิสระเพื่อฝึกอาชีพ และยกระดับทักษะฝีมือแรงงาน ให้มีมาตรฐาน พร้อมมอบเครื่องมือพื้นฐานชุดการฝึก เป็นเครื่องมือทำมาหากิน ให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมเพื่อนำไปประกอบอาชีพให้มีรายได้ เลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้มากขึ้นซึ่งมีเป้าหมาย 22,000 คน ดำเนินการแล้ว 12,476 คน 
นางสาวบุปผา กล่าวต่อไปว่า ในครั้งนี้ได้มีโอกาสมอบเครื่องมือให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมกับสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานอ่างทอง จำนวน 3 หลักสูตร ประกอบด้วย  การเชื่อมประกอบผลิตภัณฑ์ การตัดเย็บเสื้อผ้า และการทำขนมฟิวชั่น ซึ่งมีผู้ผ่านการฝึกอบรม 159 คน ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง ชั้น 2 องค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง นอกจากนี้ ยังได้มอบใบอนุญาตเป็นผู้ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติให้กับ วิทยาลัยเทคนิคอ่างทอง สาขาอาชีพช่างอุสาหการ 2 สาขา คือ สาขาช่างปรับ ระดับ 1 สาขาช่างควบคุมเครื่องกลึง CNC ระดับ 1 และเยี่ยมชมบูธของหน่วยงานในเครือข่าย จำนวน 3 บูธ ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดอ่างทอง ธนาคารออมสิน สาขาอ่างทอง วิทยาลัยเทคนิคอ่างทอง 
เศรษฐกิจจะสามารถขับเคลื่อนได้ ส่วนหนึ่งต้องประกอบด้วยแรงงานคุณภาพ ซึ่งการพัฒนาทักษะให้แก่แรงงานอย่างเดียวอาจยังไม่เพียงพอ หากมีเครื่องมือช่วยในการประกอบอาชีพ จะยิ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบอาชีพ ทำให้มีงาน มีรายได้ ดูแลครอบครัว และตนเอง สร้างความเข้มแข็งให้แก่ฐานรากของเศรษฐกิจไทยได้อย่างยั่งยืน อธิบดีบุปผา กล่าวทิ้งท้าย

ก.แรงงาน หนุนนายจ้าง Up Skill แรงงานข้ามชาติ เป้าล้านคน ทูตสวิสฯ ชม “พิพัฒน์” ยกระดับแรงงานเท่าเทียม

วันที่ 30 พฤษภาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  ให้การต้อนรับ นายเปโดร สวาห์เลน (Mr.Pedro Zwahlen) เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสมาพันธรัฐสวิสประจำประเทศไทย และคณะ ในโอกาสเข้าพบเพื่อเยี่ยมคารวะ แนะนำตัว พูดคุยทำความเข้าใจลำดับความสำคัญของกระทรวงแรงงานในปัจจุบัน และหารือถึงความร่วมมือด้านแรงงานที่มีอยู่และความเป็นไปได้สำหรับความร่วมมือกับกระทรวงแรงงานในอนาคต ซึ่งรวมถึงโครงการ PROMISE ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแห่งสวิส เพื่อเพิ่มการจ้างงานที่เหมาะสมและปรับปรุงความเป็นอยู่ของแรงงานข้ามชาติ โดยมี นายสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายภุชงค์ วรศรี ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นายสมาสภ์ ปัทมะสุคนธ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เข้าร่วม ณ ห้องจัตุมงคล ชั้น 6 อาคารกระทรวงแรงงาน 
นายพิพัฒน์ กล่าวว่า ผมพร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ยินดีต้อนรับท่านเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสมาพันธรัฐสวิสประจำประเทศไทย และคณะเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเยี่ยมเยียนกระทรวงแรงงานในวันนี้ ปัจจุบันมีแรงงานไทยกำลังทำงานอยู่ในสมาพันธรัฐสวิสประมาณ 179 คน และมีแรงงานสัญชาติสวิสประมาณ 865 คน อาศัยและทำงานอยู่ในประเทศไทย ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า กลุ่มนักธุรกิจรวมถึงนักท่องเที่ยวจากสมาพันธรัฐสวิสจะเดินทางมาเยือนประเทศไทยมากยิ่งขึ้น รวมถึงขอสนับสนุนแรงงานทักษะฝีมือของไทยจะได้เดินทางไปทำงานในสมาพันธรัฐสวิสมากยิ่งขึ้น และขอขอบคุณรัฐบาลสวิสที่ให้การสนับสนุนโครงการ PROMISE ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมโอกาสในการทำงานและสภาพการทำงานที่ดีขึ้นให้แก่แรงงานข้ามชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทย โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติจากประเทศกัมพูชา สปป. ลาว และเมียนมา ตั้งแต่ระยะแรกจนถึงระยะที่สองในขณะนี้ 
นายพิพัฒน์ กล่าวต่อว่า ผมและคณะผู้แทนกระทรวงแรงงาน รวมถึงผู้แทนองค์กรนายจ้างลูกจ้าง มีกำหนดการเดินทางไปเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยระหว่างวันที่ 10 - 15 มิถุนายน ที่จะถึงนี้ เพื่อเข้าร่วมการประชุมใหญ่ประจำปีองค์การแรงงานระหว่างประเทศครั้งที่ 112 ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงขอขอบคุณที่กระทรวงแรงงานได้รับความอนุเคราะห์จากท่านเปโดรและสถานเอกอัครราชทูตสวิสช่วยอำนวยความสะดวกในการทำวีซ่าให้คณะเดินทางในครั้งนี้ด้วย โดยการประชุมครั้งนี้รัฐบาลไทยจะมีการประกาศให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับที่ 144 ว่าด้วยการปรึกษาหารือของไตรภาคีเพื่อสนับสนุนการนำมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศไปใช้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างนำเสนอ ครม.เมื่ออนุมัติก็จะนำไปประกาศได้
  ในส่วนของการดูแลคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทยนั้น แม้ว่าตามกฎหมายแรงงานไม่สามารถพัฒนาทักษะฝีมือให้แรงงานข้ามชาติได้ แต่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้ประสานไปยังสถานประกอบการต่างๆ เพื่อขอความร่วมมือสถานประกอบการ Up Skill แรงงานข้ามชาติ โดยตั้งเป้าไม่น้อยกว่า 1 ล้านคน นอกจากนี้ ในเรื่องของข้อกฎหมายกระทรวงแรงงานได้ถือปฏิบัติแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติที่เท่าเทียมกัน โดยเฉพาะการประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศในวันที่ 1 ตุลาคมนี้
ด้าน นายเปโดร สวาห์เลน (Mr.Pedro Zwahlen) เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสมาพันธรัฐสวิสประจำประเทศไทย กล่าวว่า ผมขอขอบคุณท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นอย่างยิ่งที่เปิดโอกาสให้เข้าพบและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านแรงงานในวันนี้ และขอชื่นชมกับความสำเร็จและความพยายามของรัฐบาลไทยที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงาน รวมทั้งขอชื่นชมท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานที่ดูแลผู้ลี้ภัยในสถานการณ์ที่ยากลำบากได้เป็นอย่างดี การหารือในวันนี้ จะนำไปสู่ความร่วมมือจะเกิดประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจกับทั้งสองฝ่าย ที่สำคัญจะกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นต่อไป

ผู้ว่าฯสงขลา ชี้แจงไม่ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ กรณีปัญหาโพงพางทะเลสาบสงขลา เพียงแต่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนต้องค่อยเป็นค่อยไป ยืนยันทุกขั้นตอนเป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด..

31 พฤษภาคม 2567 ที่ห้องประชุม CEO ศาลากลางจังหวัดสงขลา จากกรณีที่มีบุคคลอ้างเป็นตัวแทนชาวสงขลาเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สภ.เมืองสงขลา กล่าวหา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ประมงจังหวัดสงขลา เจ้าท่าภูมิภาคสาขาสงขลา และตำรวจน้ำ เข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนชาวจังหวัดสงขลาโดยรวม จากกรณีการสร้างโพงพางและสิ่งกีดขวาง ตลอดจนการใช้เครื่องมือทำประมงผิดกฎหมายในพื้นที่ทะเลสาบสงขลานั้น 
นายสมนึก พรหมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา จึงเชิญสื่อมวลชนเข้ารับฟังการชี้แจงข้อเท็จจริงถึงการดำเนินการที่ผ่านมา ซึ่งจังหวัดสงขลาได้กระทำมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีนายอำเภอ ประมงจังหวัดสงขลา เจ้าท่าภูมิภาคสาขาสงขลา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า จากกระแสข่าวที่ออกมาส่วนตัวไม่ได้กังวลอะไร เพราะที่ผ่านมาทุกภาคส่วนในจังหวัดสงขลาทำงานอย่างเต็มที่ ไม่ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อย่างที่เป็นข่าว ตั้งแต่ตนมารับตำแหน่งก็ได้รับข้อร้องเรียนเรื่องนี้มาโดยตลอด ซึ่งตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ได้เชิญส่วนราชการทั้งประมง เจ้าท่า ศรชล.ตำรวจน้ำ ตำรวจ และหน่วยอื่น ๆ มาพูดคุยหารือเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน 
เนื่องจากทราบดีว่า อดีตเคยมีการเข้ารื้อถอนโพงพางในทะเลสาบสงขลาไปแล้วถึง 2 ครั้ง แต่สุดท้ายโพงพางก็กลับมาเหมือนเดิม และยังเกิดความขัดแย้งกระทบกระทั่งกันในพื้นที่ ผลการหารือในวันนั้นอัยการจังหวัดแนะนำว่า เพื่อให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างเป็นระบบ ลดการปะทะ จึงเสนอให้นำปัญหาโพงพางเข้าดำเนินคดีตามกฎหมายทั่วไป คือ ให้ประมงจังหวัด และเจ้าท่า ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการบังคับใช้กฎหมายเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสิน
ต่อมา 8 กุมภาพันธ์ 2567 ประมงจังหวัดสงขลา ได้ออกคำสั่งทางปกครอง ปิดประกาศให้รื้อถอนเครื่องมือประมงโพงพางที่ทำประมงในร่องน้ำทะเลสาบสงขลา แจ้งให้เจ้าของโพงพางทราบ โดยให้ทำการรื้อถอนออกจากร่องน้ำภายใน 15 วัน หลังจากปิดประกาศตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 
จากนั้น นายเดชอิศม์ ขาวทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา เขต 5 ได้เสนอตัวเข้ามาเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยกับชาวประมง โดยขอเวลา 90 วัน เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 จังหวัดได้แจ้งให้ประมงจังหวัดพิจารณาเรื่องดังกล่าว ซึ่งทางประมงได้ออกประกาศชะลอเวลาออกไปเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 ไปจนถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2567 แต่การเจรจาก็ไม่เป็นผล ประมงจังหวัดและเจ้าท่าจึงเข้าแจ้งความร้องทุกข์ กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองสงขลา เมื่อวันที่ 20 พ.ค.2567 เพื่อให้ดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้ลักลอบใช้เครื่องมือประมงโพงพาง ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดตาม พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2560 มาตรา 67 (1) โดยได้นำคำสั่งต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการไปแล้วใช้ในการยื่นประกอบสำนวน จึงชัดเจนว่าเป้าหมายหลักของจังหวัดสงขลา แท้จริงแล้วคือการรื้อถอนประมงผิดกฎหมายออกจากทะเลสาบสงขลา โดยอาศัยกระบวนการทางกฎหมาย  
ถัดมาจังหวัดสงขลาได้ทำหนังสือ จำนวน 7 ฉบับ นำเรียนปัญหาความเดือดร้อนของชาวประมงไปยัง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม อธิบดีกรมประมง และอธิบดีกรมเจ้าท่า เพื่อร่วมพิจารณากำหนดแนวทางการปัญหาเชิงนโยบายให้ครอบคลุมทุกมิติในระยะยาว โดยใจความสำคัญในหนังสือมี 2 ประการ คือ 1) ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด 2) เพื่อให้พิจารณาช่องทางการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้านตามสมควร
วันเสาร์ที่ 25 พ.ค.2567 ตำรวจน้ำ กองกำกับการ 7 กองบังคับการตำรวจน้ำ ได้เข้าบังคับใช้กฎหมายจับกุมชาวประมงโพงพาง 2 ราย ขณะทำการประมงจับสัตว์น้ำด้วยโพงพาง เนื่องด้วยเป็นความผิดซึ่งหน้า โดยอายัดของกลางเรือ 2 ลำ และโพงพางขณะทำการประมงไว้
26 พ.ค.2567 ชาวประมงบ้านหัวเขา รวมตัวปิดท่าแพขนานยนต์ เรียกร้องขอพบผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ตนจึงมอบหมายให้นายเศวต เพชรนุ้ย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายอำเภอสิงหนคร ประมงจังหวัด เจ้าท่าภูมิภาค และตำรวจร่วมตั้งโต๊ะเจรจา ขอให้สลายการชุมนุมเปิดท่าแพขนานยนต์เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนส่วนรวม จนเวลาล่วงเลยมาถึงเย็น สภ.สิงหนคร ต้องบังคับใช้กฎหมายประกาศให้สลายการชุมนุมในคืนดังกล่าว โดยหลัก ๆ ในวันนั้นชาวประมงเรียกร้องขอประกันคน ประกันเรือ 2 ลำที่ถูกจับกุม
เช้าวันที่ 27 พ.ค.2567 ชาวประมงยอมสลายการชุมนุม เปิดท่าแพขนานยนต์ให้กลับมาให้บริการได้ ยอมส่งตัวแทนจำนวน 20 คน เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาเพื่อร่วมหารือทางออก โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาเองก็ได้ย้ำชัดว่า ในเรื่องคดีส่วนไหนที่ผิดกฎหมายก็ยังคงต้องดำเนินไปตามกระบวนการทางกฎหมาย แต่ขอให้มั่นใจว่าจังหวัดจะไม่มีนโยบายใช้ความรุนแรงกับชาวประมง สำหรับข้อเสนอหลัก ๆ จากการพูดคุย 1) ชาวประมงขอให้มีการกำหนดเขตร่องน้ำให้ชัดเจน 2) การขอทำเขตประมงพิเศษ ซึ่งกรณีนี้ไม่ได้อยู่ในอำนาจของจังหวัด แต่ก็จะเสนอรัฐบาลให้ ซึ่งเห็นได้ว่าเป้าหมายเดียวของจังหวัดสงขลา คือ การจัดระเบียบทะเลสาบสงขลา ทำทุกอย่างให้ถูกต้องตามกฎหมายโดยปราศจากความรุนแรง แต่เพราะเป็นปัญหาเรื้อรั้งทุกขั้นตอนจึงต้องอาศัยเวลาเพื่อให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างยั่งยืน
นายสมนึก พรหมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ยังกล่าวอีกว่า ตนเกิดที่จังหวัดสงขลา โตที่จังหวัดสงขลา เป็นคนสงขลาโดยกำเนิด ชีวิตทั้งหมดผูกพันธ์อยู่กับจังหวัดสงขลา ชีวิตการทำงานตั้งแต่สมัยเป็นปลัดอำเภอ เมื่อปี 2531 เรื่อยมา ก็ได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชามาโดยตลอด จนได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม และมาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ซึ่งที่ผ่านมาตนทำงานบนพื้นฐานของความถูกต้องยึดหลักกฎหมาย ยึดมั่นในระเบียบราชการ ตระหนักถึงการเป็นข้าราชการที่ดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสมอมา ในประเด็นนี้จึงขอยืนยันว่า ตนและหน่วยงานในจังหวัดสงขลาที่ถูกกล่าวอ้างไม่ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อย่างแน่นอน...//

เอกอัครราชทูตเบลเยี่ยม ประจำประเทศไทย มอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์เลอปอล จากราชอาณาจักรเบลเยี่ยม ให้ประธานสวนนงนุชพัทยา

       วันพฤหัสบดี ที่ 30 พฤษภาคม  2567 เวลา 12.30 น. ณ ทำเนียมเอกอัครราชทูตเบลเยี่ยม  H.E. Ms. Sibille de Cartier d’Yves (นางซีบีย์ เดอ การ์ทีเย ดีฟว์ ) เอกอัครราชทูตเบลเยี่ยม  ประจำประเทศไทยเป็นตัวแทน จากสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเบลเยียมทรงพระราชทาน  เครื่องอิสริยาภรณ์เลอปอล เพื่อเป็นเกียรติยศและบำเหน็จความดีความชอบ แด่นายกัมพล ตันสัจจา ประธานสวนนงนุชพัทยา  เพื่อเป็นการยกย่องและเชิญชูบุคคลผู้มีผลงานสร้างสรรค์อันโดดเด่นทางด้านแนวคิด “สวนมิตรภาพ”     “Friendship Garden”      
                        ด้านนายกัมพล กล่าวว่ารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เลอปอล จากรัฐบาลเบลเยียม และรางวัลนี้เป็นการยกย่องแนวคิดสวนมิตรภาพขอผม ในสถานทูตเบลเยี่ยมประจำประเทศไทย  รางวัลนี้ไม่เพียงแต่แสดงถึงความสัมพันธ์พิเศษระหว่างประเทศไทยและราชอาณาจักรเบลเยี่ยม  แต่โดยส่วนตัวแล้วถือเป็นการมองเห็นคุณค่าในตัวของผมและสวนนงนุชพัทยา  และผมจะจดจำมิตรภาพที่ดีตลอดไป ขอขอบคุณอย่างจริงใจสำหรับการได้รับเกียรติในครั้งนี้
              ซึ่งแนวคิดการจัดสวนมิตรภาพ” หรือ “Friendship Garden”    เป็นการปรับภูมิทัศน์ให้แต่ละสถานทูตภายในประเทศไทย มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560  ซึ่งทางสวนนงนุชพัทยาทำการออกแบบแล้วเข้าจัดสวน และทำการดูแลบำรุงรักษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย จนถึงปัจจุบันได้ดำเนินการแล้วเสร็จทั้งหมด 15 แห่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

54 ปี สวท.พิษณุโลก เจริญพระพุทธมนต์ เพื่อความเป็นสิริมงคล

วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00 น. ณ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดพิษณุโลก เลขที่ 456 หมู่ 5 ตำบลบ้านคลอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก นายพิพัฒน์  สัสดีแพง  ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วยข้าราชการ ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ และบุคลากรในสังกัดจัดพิธีทำบุญ เนื่องในโอกาสครบรอบ 54 ปี การก่อตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดพิษณุโลก
โดยมีนางพิศมัย เลิศอิทธิบาท ประชาสัมพันธ์จังหวัดพิษณุโลก นำ บุคลากร เข้าร่วมพิธี นอกจากนี้  ยังได้รับเกียรติจาก นายไพฑูรย์ ศรีรอด อดีตรองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อดีตผู้บริหารของกรมประชาสัมพันธ์  นางสาวอัชณัฐ ปรารถนารักษ์ ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์เขต 4  หัวหน้าส่วนราชการ สื่อมวลชน และดีเจชื่อดัง ของจังหวัดพิษณุโลก เข้าร่วมพิธี 
ภายในงานประกอบด้วย จัดพิธีไหว้ศาลเจ้าพ่อทะเลแก้ว องค์อินทร์ พระสงฆ์จากวัดอรัญญิก จำนวน 9 รูป นำโดนพระมหาธนศักดิ์ จินตกวี รักษาเจ้าอาวาสวัดอรัญญิก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก และผู้ชวยเจ้าอาวาสวัดใหญ่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารอำเภอเมืองพิษณุโลก สวดเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อความเป็นสิริมงคล  พร้อมถวายภัตราหารเพลพระสงฆ์ 
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดพิษณุโลก (สวท.พิษณุโลก)  สำนักประชาสัมพันธ์เขต 4 กรมประชาสัมพันธ์ เริ่มส่งกระจายเสียงออกอากาศทางคลื่นความถี่ FM 94.25 Mhz และคลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบ AM 1026 Khz  ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2513 จนถึงปัจจุบัน ( พ.ศ. 2567 ) เป็นเวลา 54 ปี   ทำหน้าที่เป็นสื่อวิทยุกระจายเสียงของรัฐ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร สร้างความรู้ความเข้าใจ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับประชาชนมาตามลำดับ พร้อมทั้งสะท้อนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ปัญหาและความต้องการของประชาชนไปสู่ภาครัฐ ภายใต้สโลแกน “ สื่อของประชาชน คนพิษณุโลก” 
ทั้งนี้ ด้วยความร่วมมือจากเครือข่าย หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้ดูแลหอกระจายข่าว เสียงตามสาย (กว่า 1,000 แห่ง) อปมช. อสม. และสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ทำให้ประชาชนชาวจังหวัดพิษณุโลกได้รับทราบข่าวสารได้อย่าง รวดเร็ว และถูกต้อง

สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สนพท.) เยี่ยมชมบริษัทผู้ผลิตเทคโนโลยีชั้นนำของประเทศจีนและดูงานสถานีโทรทัศน์หูเป่ย

ตามที่สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย ได้รับคำเชิญจากสมาคมนักข่าวสาธารณรัฐประชาชนจี...