แต่ปัจจุบัน ยื่นโครงการต่อ รมต.อุตสาหกรรม ขอตั้ง โครงการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมแบบบูรณาการ แนวคิดเศรษฐกิจ BCG ผลิต-แปรรูปขั้นกลางและขั้นปลาย เล็งอุตสาหกรรมยางพารา-ปาล์มน้ำมัน ในเขต ต.ท่าหมื่นราม อ.วังทอง 1,383 ไร่ เอกชนลงทุนล้วนๆ คาด 2,500,000,000 บาท
วันที่ 26 มิถุนายน 2568 นางสาว พญา ธาราวุฒิ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดเสวนา “เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านพลังงานสะอาด” เตรียมพร้อมสู่ Energy Transition ที่โรงแรมเดอะพาร์ค จ.พิษณุโลก โดยนายทรงพล วิชัยขัทคะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานกล่าวเปิดงาน มีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนร่วมงาน
เป้าหมายคือแลกเปลี่ยนความรู้ด้านพลังงานก้าวให้ทันกระแสพลังงานสะอาด เริ่มจากโครงสร้างกิจการไฟฟ้าไทย ทิศทางของต้นทุนค่าไฟในอนาคต เทคโนโลยีด้านพลังงาน แผนรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ตามเป้าหมายที่ประเทศไทยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนปี 2050 และลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2065
นางสาว พญา ธาราวุฒิ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า “โลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านพลังงาน ราคาพลังงานที่ผันผวน หากเราไม่เร่งปรับตัววันนี้ อาจกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศในอนาคต เสวนาครั้งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายด้านพลังงานสะอาด
ปัจจุบันจังหวัดพิษณุโลกจะต้องพัฒนาต่อไปโดยเฉพาะเรื่องโลจิตติกส์ของสี่แยกอินโดจีน จากภูมิศาสตร์ทำเลที่ตั้งมีทั้งรถไฟ เครื่องบนและถนนที่สะดวกเชื่อมถึงในหลายภูมิภาค จึงได้ยื่นหนังสือข้อเสนอโครงการต่อ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.หลายสมัย และ นาย พงษ์มนู ทองหนัก สส.พิษณุโลก เขต 3 (วังทอง–เนินมะปราง) เมื่อ 22 มิ.ย.68 ที่ อ.วังทอง ถึงแนวทาง จัดตั้งศูนย์รวบรวมผลผลิต แปรรูปในพื้นที่ เพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ ยกระดับภาคเกษตรเข้าสู่ระบบเกษตรมูลค่าสูงตามแนวทาง BCG
หนังสือโครงการระบุถึง พิษณุโลกมีผลผลิตจากยางพาราและปาล์มน้ำมันจำนวนมาก และมีการขยายพื้นที่ต่อเนื่อง ปริมาณยางพาราไม่น้อยกว่า 200,000 ไร่ และปาล์มน้ำมันไม่น้อยกว่า55,000 ไร่ ยังอยู่รูปแบบดั้งเดิม เกษตรกรส่วนใหญ่เน้นการจำหน่าย วัตถุดิบขั้นต้น เช่น น้ำยางดิบหรือทะลายปาล์มสด
ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีแปรรูปขั้นกลางและขั้นปลาย เช่น โรงผลิต ยางแท่ง น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ส่งผลให้เสียโอกาสการเพิ่มมูลค่า ไม่สามารถเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมปลายน้ำ เช่น อุตสาหกรรมยาง ยานยนต์อย่างมีประสิทธิภาพ
จำเป็นต้องยกระดับภาคการเกษตรเข้าสู่ระบบเกษตรมูลค่าสูงที่ยั่งยืน ตามแนวทางเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) เน้นการพัฒนา ระบบแปรรูปครบวงจร การจัดการของเสียเพื่อลดคาร์บอน การสนับสนุน เทคโนโลยีสีเขียว
แนวทางดำเนินการเป็นรูปธรรมใน 6 ด้าน คือ
1.สนับสนุนการลงทุนใน โรงงานแปรรูปขั้นกลางและขั้นปลาย เช่น โรงผลิตยางแท่ง ยางพาราแปรรูป น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ปุ๋ยอินทรีย์จากกากปาล์มส่งเสริมการผลิตผลิตภัณฑ์ ชีวภาพ (Bio-based) เช่น วัสดุก่อสร้างจากยาง กาวชีวภาพ หรือพลาสติก ชีวภาพจากของเสียพืชน้ำมัน
2.พัฒนาระบบโลจิสติกส์รองรับ BCG : ขยายระบบ ชลประทานเพื่อรองรับการผลิตยางและปาล์มคุณภาพสูงในพื้นที่นอกเขต ชลประทาน
3.พัฒนาระบบจัดการของเสียในสวนยางและปาล์ม เช่น การผลิตพลังงานชีวมวลจาก เศษใบไม้-กิ่งไม้ หรือการหมักกากปาล์มเป็น Biogas พร้อมจัดตั้งแปลง ต้นแบบ "Zero Waste เบื้องต้น 3 หมู่บ้านภายในปีแรก
4. ถ่ายทอด เทคโนโลยี Smart Agriculture เช่น ระบบน้ำหยดอัตโนมัติ เซ็นเซอร์วัด ความชื้น/ธาตุอาหารในดิน เพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขัน
5.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนหรือสหกรณ์หรือ Cluster อุตสาหกรรมเกษตร มุ่งพัฒนาแบรนด์สินค้าท้องถิ่น เช่น “ยางพาราคุณภาพสูงจากพิษณุโลก” หรือ “น้ำมันปาล์มปลอดคาร์บอน” เพิ่มอำนาจต่อรองและขยายตลาด
6. สนับสนุน เกษตร BCG” ระดับพื้นที่ แบบครบวงจร โดยเชื่อมโยงมหาวิทยาลัยในพื้นที่ ทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมเชิงพาณิชย์
เป้าหมาย รายได้เฉลี่ยต่อไร่ของเกษตรกรยางพาราและปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นไม่ น้อยกว่าร้อยละ 20 ภายใน 3 ปี สัดส่วนผลผลิตที่เข้าสู่ระบบแปรรูปขั้นกลางหรือขั้นปลาย เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของผลผลิตรวมภายใน 3 ปี
พื้นที่โครงการตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 7 ตำบลท่าหมื่นราม อำเภอวังทอง พิษณุโลก ประมาณ 1,383–1,146 ไร่ เป็นโครงการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมแบบบูรณาการ ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจ BCG โดยครอบคลุมกิจกรรมตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ การแปรรูปขั้นกลางและขั้นปลาย
เบื้องต้นมีตั้งโรงงานแปรรูปยางธรรมชาติขนาดใหญ่ ใช้กำลังเครื่องจักร ประมาณ 12,000 แรงม้า สามารถผลิตยางเครป ยางแท่ง และยางรูปแบบต่าง ๆ ได้มากถึง 140,000 ตันต่อปี และมีบุคลากรในพื้นที่กว่า 320 คน ด้านมีตั้งโรงงานแปรรูปทะลายปาล์มใช้กำลังเครื่องจักร 30,000 แรงม้า สามารถรองรับทะลายปาล์มได้ 60 ตันต่อชั่วโมง และจ้างแรงงานในพื้นที่กว่า 120 คน เชื่อมโยงกับการพัฒนา เศรษฐกิจหมุนเวียนตามแนวทาง BCG อย่างเป็นรูปธรรม ระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 12 เดือน
ภาครัฐจะสนับสนุนการบูรณาในพื้นที่ร่วมกับท้องถิ่นใช้งบประมาณภาครัฐ 3,000,000 บาท ส่วนภาคเอกชนลงทุนเองทั้งหมดจะเตรียมพื้นที่เพื่อก่อสร้างโรงงานแปรรูปครบวงจร โดยงบลงทุนเต็มรูปแบบ (ระยะก่อสร้างประมาณ 24 เดือน) คาด 2,500,000,000 บาท (สองพันห้าร้อยล้านบาท)
No comments:
Post a Comment